วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การทำโครมไฟจากกะลามะพร้าว

การทำโครมไฟจากกะลามะพร้าว

วัสดุที่ใช้ เครื่องมือและอุปกรณ์
1. กะลามะพร้าว 1. เลื่อยฉลุ
2. หลอดไฟ สายไฟ ปลั๊กไฟ 2. สว่านเจาะ
3. เทปพันสายไฟ 3. กระดาษทรายหยาบ
4. ไม้อัดเหลือใช้ คอโคมไฟไม่ใช้แล้ว 4. กระดาษทรายละเอียด
5. เครื่องยิงกาว 5. ดินสอ / วงเวียน
6. สีไม้โอ๊ก 


ขั้นตอนในการทำ

1. นำกะลามะพร้าวลูกที่ 1 ปลอกเปลือกให้หมด เจาะรูด้านล่าง 1 รูขนาดเส้นผ่าศูนย์
กลาง 1 ซ. ม วาดลวดลายเป็นหยดน้ำ 3 หยดขนาดใหญ่แล้วขัดกะลาให้เป็นมันเงา
และทาสีไม้โอ๊กให้เรียบร้อย
2. นำกะลาลูกที่ 2 ตัดครึ่งลูกทำเป็นฐาน เจาะรูตรงกลางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 ซ.ม
และเจาะรูด้านข้างกะลาเพื่อติดสายไฟ และขัดมันให้เรียบร้อยทาด้วยสีไม้โอ๊ก
3. นำชิ้นส่วนกะลาทั้ง 2 ส่วน ติดเข้าด้วยกันให้สนิทด้วยการยิงและนำสายไฟติด
ปลั๊กไฟเข้าที่กลางฐานกะลาและสอดสายไฟเข้าด้านข้างของกะลาที่เจาะรูไว้เข้าทำ
เป็นฐาน
4. นำหลอดไฟติดเข้ากับหลอดไฟให้ถูกต้องแล้วตรวจสอบให้เรียบร้อย

  
วัตถุประสงค์        
1.เพื่อให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว        
2.เพื่อศึกษารูปแบบการทำโคมไฟ 
3.เพื่อเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ สมมติฐาน/แรงบันดาลใจ ในปัจจุบันนั้นได้มีธุรกิจสปาเกิดขึ้นมากในประเทศไทยจึงทำให้เกิดการแข่งขันกันเป็นจำนวนมากในกลุ่มธุรกิจประเภทนี้จึงทำให้เจ้าของธุรกิจนั้นพยายามที่จะทำให้ร้านของตนเองนั้นเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักกับคนจำนวนมากที่มาใช้บริการ ซึ่งสิ่งสำคัญของการเปิดธุรกิจประเภทนี้คือการตกแต่งร้านและการบริการที่ ที่ให้ความรู้สึกสบายแก่ผู้เข้าหรือลูกค้า โดยการตกแต่งร้านนั้นส่วนมากจะเป็นการตกแต่งร้านให้เป็นธรรมชาติกที่สุด และเราจะทำอย่างไรให้ร้านของตนเองนั้นเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งก็คือโคมไฟกะลาที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับร้านนั้นเอง เพราะโคมไฟกะลานั้นเป็นวัตถุดิบที่ทำมากจากธรรมชาติ ซึ่งในการตกแต่งร้านนั้นควรเน้นออกแนวธรรมชาติ ให้มากที่สุดเพราะธรรมชาตินั้นช่วยในการผ่อนคลายความรู้สึกให้สบาย
 ขอบเขตโครงการ       
 1.กำหนดการใช้สายไฟ18วัตต์        
2.ในการใช้สำหรับแขวนและตั้งพื้น       
 3.ใช้ในการประดับตกแต่งร้านสปา        
4.ใช้ไฟไม่เกิน220v  
วิธีดำเนินการทำโครงการทั้งหมดโดยย่อ        
1รวบรวมข้อมลูศึกษาการออกแบบโคมไฟลักษณะต่างๆ       
 2.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง กระบวนการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต       
  3.ร่างแบบเพื่อกำหนดรูปร่างและลักษณะขนาดที่ต้องการ       
 4.ขั้นตอนการผลิตผลงาน การปฏิบัติงานตามกระบวนการผลิตโคมไฟกะลา       
  5.ขั้นตอนการสรุปและการนำเสนอผลงานการออกแบบโคมไฟกะลามะพร้าว เป็นการ นำเสนอผลงานทั้งหมดที่ได้ทำออกแบบและได้ปฏิบัติตามขั้นตอนทั้งหมด 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ        
1.เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาค้นค้วาการออกแบบโคมจากกะลามะพร้าวที่หลากหลายและสามารถสร้างทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
 2.สามารถนำไปเป็นอุตสาหกรรมครอบครัวได้        
3.เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และสร้างอาชีพเสริม

โคมไฟจากกะลามะพร้าว

โคมไฟจากกะลามะพร้าว

โคมไฟจากกะลามะพร้าว  จังหวัดหนองบัวลำภู

ประวัติความเป็นมา
เมื่อปี พ.ศ. 2539 ข้าพเจ้ามีโอกาสเข้าศึกษาการฝึกอาชีพหลักสูตรระยะสั้นจากสถาบันวิภาบุญเสริม ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา หลังจากจบการฝึกอาชีพระยะสั้นมาแล้ว ก็ยังไม่คิดจะนำความรู้ที่ได้มาประกอบอาชีพแต่อย่างใด ต่อมาข้าพเจ้าได้แต่งงานและย้ายมาอยู่ที่บ้านของภรรยาที่บ้านฝั่งแดง หมู่ที่ 4 ตำบลฝั่งแดง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อปี พ.ศ. 2541
และไม่อยากจากครอบครัวไปทำงานต่างจังหวัด ซึ่งต้องห่างไกลจากครอบครัว แต่ไม่รู้จะประกอบอาชีพอะไร จึงได้นำความรู้จากการฝีกอบรมอาชีพหลักสูตรระยะสั้น “การทำโคมไฟจากกะลามะพร้าว” จากสถาบันวิภาบุญเสริม มาประกอบเป็นอาชีพและก่อตั้งกลุ่มการทำโคมไฟจากกะลามะพร้าวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แนวคิด
อยากประกอบอาชีพส่วนตัวอยู่กับครอบครัว ไม่ต้องจากกันไปต่างจังหวัด ประกอบกับตนเองมีความรู้เรื่องการทำโคมไฟจากกะลามะพร้าว ทั้งวัตถุดิบก็หาง่ายในท้องถิ่น และมีใจรักในงานศิลปะ
การฝึกอาชีพหลักสูตรระยะสั้น จากสถาบันวิภาบุญเสริม จังหวัดฉะเชิงเทรา
อัตลักษณ์
แนวคิดในการออกแบบชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์สอดแทรกทัศนคติ และความเชื่อดั่งเดิมของสังคมไทยเกี่ยวกับสัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นมงคล นำความเจริญรุ่งเรือง ความร่ำรวยและอยู่เย็นเป็นสุขมาสู่ผู้ที่มีไว้ในครอบครอง และ/หรือสอดแทรกปรัชญา วิถีชีวิตชุมชนไว้ในชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์อย่างประณีต สวยงามและมีคุณค่าทางจิตใจ

เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอน ที่ต้องใช้ทักษะความชำนาญอย่างมากในการผลิต มีความละเอียดประณีต สวยงาม แนวความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ สอดแทรกปรัชญาวิถีชีวิตชุมชนผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีศิลปะ ให้ความรู้สึกอบอุ่นและมีความสุขเมื่อได้ครอบครอง

วัตถุดิบและส่วนประกอบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตมีเพียง 2 อย่าง ประกอบด้วย กะลามะพร้าวและเศษไม้ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถหาได้โดยง่ายในท้องถิ่น ในส่วนของกะลามะพร้าวขนาดเล็กหรือมะพร้าวน้ำหอม ถ้าหากไม่เพียงพอในท้องถิ่นก็สามารถสั่งซื้อจากผู้ประกอบการสวนมะพร้าวน้ำหอมแถบจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่อย่างเพียงพอในการผลิต

ส่วนประกอบหรือส่วนผสมในการผลิต โคมไฟจากกะลามะพร้าว มีส่วนประกอบหรือส่วนผสมหลักที่จำเป็น ดังนี้
1. กะลามะพร้าว
2. โคมไฟพร้อมส่วนประกอบ เช่น หลอดไฟ สายไฟ ขั้วไฟ
3. กาวร้อน ใช้ติดส่วนประกอบ
4. เศษผงไม้ ใช้เป็นตัวประสานชิ้นงานโดยใช้กาวร้อนเป็นตัวเชื่อม

ส่วนอุปกรณ์ ในการผลิตชิ้นงานประกอบด้วย
1. ไดนาโม
2. มอเตอร์
3. เลื่อยฉลุ
4. สว่านแท่น
5. ใบเลื่อย
6. ผ้าซับมัน
7. กระดาษทรายหยาบ/ละเอียด

สูตรการผลิต
การผลิตโคมไฟจากกะลามะพร้าว ไม่มีสูตรการผลิตแต่อย่างใด (ควรตัดข้อนี้ออก เพราะไม่ใช่อาหารหรือเครื่องดื่มที่จำเป็นต้องมีสูตรในการผลิต)

ขั้นตอนการผลิต
การผลิตโคมไฟจากกะลามะพร้าว มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1. คัดเลือกกะลามะพร้าว
2. นำกะลามะพร้าวมาขึ้นรูปตามที่ต้องการ
3. ตัดส่วนประกอบและประกอบเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ
4. นำไปขัดด้วยกระดาษทรายชนิดหยาบ
5. นำไปขึ้นลวดลายตามต้องการ
6. นำไปเจาะรูตามแบบที่กำหนด
7. ขัดด้วยกระดาษทรายชนิดละเอียด จำนวน 2 รอบ
8. นำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ โดยใช้กาวร้อนเป็นตัวเชื่อมประสาน
9. นำชิ้นงานไปขัดด้วยผ้าซับมันเพื่อเคลือบแลกเกอร์ให้เงางาม
10. เก็บรายละเอียดความเรียบร้อย สมบูรณ์ของชิ้นงานก่อนนำไปวางจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
ทุกชิ้นงานหรือทุกผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้น ล้วนมีแนวคิดในการออกแบบ สอดแทรกปรัชญาและทัศนคติ ความเชื่อในเชิงสร้างสรรค์อย่างมีศิลปะทุกผลิตภัณฑ์ในตัวของมันเอง

เคล็ดลับ
ทำงานด้วยหัวใจ ไม่ตีราคาชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์มากกว่าความพอใจที่ได้ทำในสิ่งที่ตนรัก

ภูมิปัญญาเฉพาะถิ่นที่ใช้ในการผลิต
การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีจิตวิญญาณ การแกะสลักลวดลาย เลือกสรรวัตถุดิบที่มีทั่วไปและหาง่ายในท้องถิ่น ผสมผสานความเชื่อดั่งเดิมของสังคมไทยในการผลิตชิ้นงานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย

การควบคุมคุณภาพ
เน้นความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละบุคคล ใครมีชำนาญในการผลิตชิ้นส่วนใดก็ให้ผลิตชิ้นส่วนนั้นเป็นการเฉพาะ เพื่อให้แต่ละชิ้นงานมีมาตรฐานคงที่ สม่ำเสมอทุกชิ้นงาน